ร่างรัฐธรรมนูญ

บวรศักดิ์ เผย ขยายเวลาการทำงาน กมธ.ยกร่างฯ อีก 1 เดือน เป็นไปได้สูง

บวรศักดิ์ เผยภาพรวมการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อยุติหลายเรื่อง พร้อมยืนยันการตัดสิทธิ์ใบแดงของ กกต. พิจารณาดีแล้ว พร้อมชี้ควรขยายเวลาการทำงาน กมธ.ฯ อีก 30 วัน เพื่อความรอบคอบ

ยกร่าง รธน.เพิ่มฐานความผิดไม่ให้เอกสิทธิคุ้มครอง ส.ส.-ส.ว.

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อยุติเรื่องเอกสิทธิคุ้มครอง ส.ส. และ ส.ว.แล้ว ไม่อนุญาตให้จับกุม คุมขังหรือออกหมายเรียกในระหว่างสมัยประชุม เว้นแต่เจ้าตัวอนุญาต ถูกจับขณะทำความผิดซึ่งหน้า ทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดที่มีโทษ 10 ปีขึ้นไป 
 

ยกร่าง รธน. ตัดสิทธิผู้ถูกถอดถอนจากทุจริตสมัคร ส.ส.-ส.ว.ตลอดไป

ยกร่าง รธน. ยืนตัดสิทธิผู้ที่ถูกถอดถอนในคดีทุจริต หรือต้องคำพิพากษาฐานประพฤติมิชอบ หรือทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม ลงเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ตลอดไป ตั้งคณะกรรมการประเมินผลหลังใช้รัฐธรรมนูญ 5 ปี

ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 - เพิ่มขั้นตอนทำประชามติ

ราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพิ่มขั้นตอนหลังยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ทำประชามติ - ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลงหากพิจารณาร่าง รธน.ไม่ทันเวลาที่กำหนด หรือ พิจารณาร่าง รธน.แล้วเสร็จ ไม่ว่าจะมีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่าง รธน. - หลังจากนั้นจะต่อด้วย "สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ" ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง

มอนิเตอร์แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ประจำสัปดาห์ที่ 6-10 ก.ค. 58

ความคืบหน้าในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 6-10 ก.ค.2558 มีการแก้ไขการกำหนดให้มี ส.ว. ไม่เกิน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 77 คน โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรอง ส่วนอีก 123 คนยังคงมาจากการเลือกกันเองและการสรรหา พร้อมตัดอำนาจ ส.ว. ในเรื่องการเสนอกฎหมาย และการถอดถอนนักการเมืองออก ขณะที่เลือกตั้ง ส.ส. กำหนดให้ตัดการเลือกตั้งแบบ Open list และจัดทำระบบบัญชีรายชื่อเขตเดียวทั้งประเทศ จำนวน ส.ส. 450-470 คน

อ่านเอาเรื่อง - รับ-ไม่รับแบบ "ทั้งฉบับ" หรือ "รายมาตรา" ? กับประเด็นปัญหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

สุเจน กรรพฤทธิ์ นักเขียนสารคดี เขียนเรื่องประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในคอลัมน์อ่านเอาเรื่องนิตยสารสารคดี ฉบับที่ 364 โดยข้อเขียนนี้สุเจนพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพือให้ข้อมูลเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านชาวไทยที่จะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของประเทศในการลงประชามติ

คำนูณ ระบุ การโหวตร่าง รธน. ต้องโหวตโดยเปิดเผย ยัน กมธ.ยกร่าง จะรักษาเจตนารมณ์เดิมของร่างฯไว้

โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุ ข้อบังคับการประชุมและธรรมเนียมปฏิบัติ ชี้ชัดการลงมติโหวตร่างรัฐธรรมนูญต้องทำโดยเปิดเผย มั่นใจร่างสุดท้ายจะได้รับการยอมรับจาก สปช. พร้อมยืนยัน กรรมาธิการยกร่างฯ พยายามอย่างที่สุดที่จะรักษาเจตนารมณ์เดิมของร่างรัฐธรรมนูญไว้ให้ได้

ปรับร่างแก้ไข รธน.2 วันผ่าน 48 มาตรา

การประชุมแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีการแก้ไขโดยมีประเด็นที่สำคัญ คือ สิทธิของบุคคลในการสมรสและในครอบครัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง กมธ.ยกร่างฯ ได้ตัด “สิทธิในการสมรสออก” ประเด็นสมัชชาคุณธรรม สมัชชาพลเมืององค์กรตรวจสอบภาคประชาชน และองค์กรอื่นที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ ที่กมธ.ยกร่างฯได้ตัดและปรับถ้อยคำใหม่ ประเด็นสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนและการอุดหนุนกิจการสื่อมวลชนโดยรัฐ มีการบัญญัติเพิ่มเติมให้มีการเปิดเผยงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการอุดหนุน

'บวรศักดิ์' ยอมถอย ทบทวนร่าง รธน.ใหม่

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ  ปาฐาถกฐาเรื่อง "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ" กล่าว จะทบทวนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาทิ การปรับจำนวน ส.ส. จากเดิม 250 คน อาจปรับเป็นส.ส.เขต 300 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน  และมีแนวโน้มว่าการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ 6 ภาค อาจปรับเป็นแบบเดิมโดยใช้เป็นเขตประเทศ  เรื่องกลุ่มการเมืองก็มีแนวโน้มสูงที่จะเอาออก แต่จะให้มีการตั้งพรรคการเมืองง่ายขึ้น ส่วนหน้าที่ ส.ว.คิดว่าจะปรับในส่วนของการเสนอกฎหมายออกไป เป็นต้น

หวั่นถูกแทรกแซง 1,130 ผู้พิพากษาลงชื่อค้านร่างรัฐธรรมนูญปมที่มา ก.ต.

ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม 1,130 คน เข้าชื่อจดหมายเปิดผนึกคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เนื่องจากในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดสัดส่วนบุคคลภายนอก 1 ใน 3 ของคณะกรรมการฯ ซึ่งต่อมาคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อสรุปว่าจะยกเลิกสัดส่วนดังกล่าว แต่จะเสนอให้มีตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาลเข้ามาเป็น ก.ต. เพิ่มขึ้นอีก 1 คน ซึ่งผู้พิพากษาหวั่นจะถูกการเมืองแทรกแซงความอิสระ

Pages

Subscribe to RSS - ร่างรัฐธรรมนูญ