Error message

The specified file temporary://file2PW0aP could not be copied, because the destination directory is not properly configured. This may be caused by a problem with file or directory permissions. More information is available in the system log.

ร่างรัฐธรรมนูญ

สปช. วันชัย เผยความเห็นส่วนตัว อยากคว่ำร่าง รธน. ให้ ประยุทธ์ ปฏิรูปต่อ

วันชัย สอนศิริ สปช. เชื่อว่าจะมีการคว่ำรัฐธรรมนูญ เพราะข้อเสนอแก้ไขของ สปช. นั้น กมธ.ยกร่างฯ คงไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด สปช.จะไม่ยอมให้รัฐธรรมนูญมีตำหนิ ก็น่าจะประกาศคว่ำรัฐธรรมนูญ เท่าที่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน สปช.ทุกคนเห็นตรงกันว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้กลัดกระดุมผิดตั้งแต่ต้นจึงมีรอยตำหนิ หาความพอดีไม่ได้ การตัดเสื้อผ้าใหม่น่าจะดีกว่าการมาปะชุน กระบวนการควรเริ่มขึ้นใหม่   

คุยกับ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี : ว่าด้วยประชามติ 'ประยุทธ์' อยู่ต่อเลยได้ไหม

หลังที่ประชุม คสช.ร่วมกับครม.ได้ข้อสรุปเตรียมแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทำให้ประเด็นการลงประชามติ กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ประชาไท สัมภาษณ์ รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี จากศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย ถึงความหมาย หลักการ เงื่อนไขของการทำประชามติ ประสบการณ์ประชามติในต่างประเทศ รวมทั้งประเมินความเป็นไปได้ ผลกระทบของการทำประชามติทั้งร่างรัฐธรรมนูญและการต่ออายุคสช.

เปิดคำขอแก้ รธน. (จบ): รัฐธรรมนูญในฝันของ ครม. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

6 มิ.ย. 58 คณะรัฐมนตรี ส่งนายวิษณุ เครืองาม เป็นตัวแทนเข้าชี้แจงเหตุผลต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งสิ้น 117 ประเด็น เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 113 มาตรา นอกจากนี้ คำขอของ ครม.ยังแตกต่างจากคำขอของ สปช. อีก 8 คณะ เพราะเป็นคำขอเดียวที่ไม่ได้ลงรายละเอียด “โดยทันที” ว่าอยากแก้ไขเนื้อหาในมาตราใด อย่างไร ด้วยเหตุผลใด

 

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (2): ‘ประชาธิปไตยแบบไทย’ เข้มข้น

ประชาไท สัมภาษณ์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ภาคสองว่าด้วยหมวดคณะรัฐมนตรี นายกฯ คนนอก มาตรา 181,182 อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การให้ปลัดกระทรวงรักษาการ หมวดศาล ไปจนถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล นี่เป็นการวิจารณ์ด้วยองค์ความรู้ที่ลึกกว่านักการเมือง เช่น อำนาจนายกฯ ขอลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา 181 เอามาจาก “ระบบเยอรมัน” ทั้งที่เยอรมันต่างจากเรา

นับคะแนนเว็บประชามติ คนใช้เน็ต 93% อยากให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

เว็บไซต์ Prachamati.org เปิดผลการออกเสียงในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ สามประเด็น เผยผู้ใช้เน็ต 93% อยากให้มีการทำประชามติ 87% ไม่เห็นด้วยกับการเขียนที่มา ส.ว. และ 90% ไม่เอานายกคนนอก

วันนี้ (18 พ.ค. 2558) เวลา 12.30 น. เว็บไซต์ประชามติเปิดผลโหวต 3 ประเด็นเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ ก่อน คสช.จะประชุมและตัดสินใจ ในวันอังคารที่ 19 พ.ค. 2558 ว่าจะประกาศให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1355 คน
เห็นด้วย 226ไม่เห็นด้วย 1129

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่ถกเถียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการป้องการเผด็จการรัฐสภาที่มักจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ส่วนฝ่ายคัดค้านเห็นว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ

พลเมืองเสวนา ทำร่างรัฐธรรมนูญออนไลน์ ดูง่ายบนมือถือและแทปเล็ต

กลุ่มพลเมืองเสวนา หรือ citizenforum ชวนติดตามความเคลื่อนไหวการขับเคลื่อนงานปฏิรูป และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ที่ www.citizenforum.in.th และ เฟซบุ๊ก "พลเมืองเสวนา Citizen Forum"

นักวิชากร-นักศึกษา-ภาคประชาชน เรียกร้องให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นประชาธิปไตย

นักวิชาการ นักศึกษา กลุ่มสหภาพแรงงาน นักเขียน ผู้กำกับ สื่อมวลชน นักการเมือง และประชาชนภาคส่วนต่างๆ ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นประชาธิปไตย เสนอหากร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป ต้องตั้งสสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ เสนอคว่ำร่างรธน. จัดตั้ง สสร.จากประชาชนใหม่

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ชี้ให้เห็นถึง ความไม่ชอบธรรมทางประชาธิปไตยและความบกพร่องทางเนื้อหา แสดงจุดยืนไม่ยอมรับกระบวนการร่าง เสนอให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จากการคัดเลือกของประชาชน

มุมมอง-ข้อขัดแย้ง ตั้ง′สมัชชาคุณธรรม′

มติชนออนไลน์รวมความคิดเห็นต่อ แนวคิดการจัดตั้งสมัชชาคุณธรรม ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ พนัส ชี้คล้ายลอกแบบพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ชี้ที่มาต้องยึดโยงกับประชาชน

Pages

Subscribe to RSS - ร่างรัฐธรรมนูญ