ยุบ อบจ. และ อบต. เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 899 คน
เห็นด้วย 677ไม่เห็นด้วย 222

เมื่อปลายปีที่แล้วมีข่าวว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประชุมหารือ พร้อมเชิญตัวแทนกระทรวงมหาดไทย (มท.) เข้าร่วม เพื่อวางแนวทางในการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ให้เทศบาลเมืองกับเทศบาลนครของจังหวัด ยุบรวมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แล้วตั้งเป็น “เทศบาลจังหวัด” ซึ่งหมายความว่า การเลือกตั้งในระดับ อบจ. จะถูกยกเลิกไป และจะไม่เหลือส่วนการเมืองในระดับนี้อีก ส่วน อบจ.เดิมที่ไม่ใช่ส่วนการเมืองก็จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายข้าราชการท้องถิ่น ที่มีหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับเทศบาล และเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด”

สำหรับตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) จะเปลี่ยนเป็น “นายกเทศมนตรีจังหวัด” และจะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งโยกย้าย แต่ให้เป็นหน้าที่ของปลัดสภาจังหวัด และในส่วนของเทศบาลจังหวัด สมาชิกจะมาจาก 2 ระบบ คือ จากการเลือกตั้ง 50% และแต่งตั้ง 50%

สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็จะยกเลิกไปทั้งหมด และเปลี่ยนรูปแบบเป็น “เทศบาลตำบล”

นอกจากนี้ ข้อเสนอในการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังกำหนดด้วยว่าให้ปฏิรูปท้องถิ่นจากเดิมที่มี 4 รูปแบบ ได้แก่ อบต. เทศบาล อบจ. และรูปแบบพิเศษ (กทม. กับ เมืองพัทยา) ให้เหลือเพียง 2 รูปแบบ คือ เทศบาลกับรูปแบบพิเศษ โดยรูปแบบของเทศบาล จะแบ่งเป็น 3ส่วน คือ เทศบาลตำบล เทศบาลอำเภอ เทศบาลจังหวัด ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบจะแบ่งเป็น3 ระดับ คือ ใหญ่ กลาง เล็ก โดยแบ่งตามจำนวนหมู่บ้าน พื้นที่ ประชากร พื้นที่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว

อ้างอิงจาก 
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/609261
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=519340631577340&set=a.1305971604...
http://www.nakhonlocal.go.th/webboards/show.php?Category=board&No=16440

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

ประหยัดงบประมาณรัฐบาลในการให้เงินอุดหนุน โดยเฉพาะงบประมาณเงินอุดหนุนจากภาครัฐบาล อย่างกรณี ของ อบต. ที่บางพื้นที่มีความรับผิดชอบในพื้นที่ขนาดเล็กเกินไป บางแห่งมีไม่ถึง 10 หมู่บ้าน มีประชาชนในความรับผิดชอบน้อยเกินไป บางแห่งมีประชาชนในความรับผิดชอบไม่ถึง 3000 - 4000 คน ต้องสิ้นเปลืองเงินเดือน ค่าจ้างบุคลากร และค่าตอบแทนสมาชิก อบต.ที่มีจำนวนมาก แต่ภารกิจความรับผิดชอบมีน้อย เนื่องจากมีขนาดเล็ก

ที่มา : เว็บไซต์ gotoknow 

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 4 ความเห็น

การยุบองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้งหมดทั่วประเทศและยกฐานะเป็นเทศบาล และรวม อบต.ขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กันรวมเป็น 1 เทศบาล จะทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รัฐบาลจัดสรรงบประมาณได้เร็วขึ้นและทั่วถึง ทำให้สนองความเดือดร้อนของประชาชนได้ ทำให้การเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์เร็วขึ้น เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การช่วยเหลือผู้สูงวัย ศูนย์เด็กเล่น เป็นต้น

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลตำบลมีจำนวนมากเกินไป ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนแปลง อบต.ทุกแห่งให้เป็นเทศบาล นอกจากนี้ อำนาจหน้าที่ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อบต. และเทศบาลมีความซ้ำซ้อนกัน การยุบ อบจ. จะช่วยลดปัญหาความทับซ้อนในพื้นที่ ทั้งเรื่องงบประมาณ ภาษี ระหว่างพื้นที่ได้ เพราะ อบจ. เป็นองค์กรที่ทับซ้อนกับ อบต. และ เทศบาล ไม่มีพื้นที่ที่เป็นของตนเอง

ที่มา: ประชาไท 

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 3 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

โมเดลแบบนี้อาจพาประเทศไทยกลับไปเป็นรัฐราชการ เพราะให้บทบาทกับฝ่ายข้าราชการประจำมากเกินไป อย่างเช่น เทศบาลระดับตำบลก็เอาผู้ใหญ่บ้านมาเป็นสภาเทศบาล รวมทั้งการปรับบทบาทให้ อบจ. เป็นสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ที่ให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้อำนวยการ และยกเลิกการเลือกตั้งในระดับนี้

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ 

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 2 ความเห็น

อบต. บางแห่งอาจมีพื้นที่อยู่ห่างไกล เป็นป่าเขา เป็นเขตชนบท หรือเป็นเขตที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ เช่น เป็นเกาะ เป็นชุมชนของเผ่าพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น ชาวเขา ชาวมุสลิม ฯ เป็นต้น อาจมีปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานในรูปแบบของเทศบาลได้ ทำให้การบริการประชาชนอาจไม่ทั่วถึง และล่าช้ากว่าการเป็น อบต.

ที่มา: เว็บไซต์ gotoknow  

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

หากการปฏิรูปท้องถิ่นตามโมเดลนี้เกิดขึ้นจริง จะถือว่าเป็นการรื้อโครงสร้างใหม่ทั้งหมด ส่งผลกระทบต่อหลายองค์กร เนื่องจากบางองค์กรถูกยุบไป ทำให้จำนวนบุคลากรมีน้อยกว่าปริมาณงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระมากกว่า และยังเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะรัฐมองในมุมที่ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่โปร่งใสและมีโครงสร้างอำนาจหน้าที่ทับซ้อน ซึ่งในส่วนนี้ควรแก้ปัญหาระบบไม่ให้ทับซ้อน ไม่ใช่มาปฏิรูปโครงสร้างให้ถอยหลังไปสู่ระบอบสุขาภิบาลเดิม

ที่มา: เว็บไซต์ YouTube 

Votes: ไม่มีคะแนน 2 ความเห็น