คสช.

จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์: ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "เกินความจริง"

ประเทศไทยมีอะไร "เกินความจริง" อยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นนายกฯ ที่เสนอให้ไปขายยางพาราที่ดาวอังคาร หรือการเรียกมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากรัฐซื้อของด้อยคุณภาพว่า ค่าซื้อความรู้ที่แพงไปหน่อย เป็นต้น ซึ่งก็น่าสนใจว่า แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยมีเรื่องเกินความจริงซุกซ่อนอยู่หรือไม่ มาคำตอบไปพร้อมกับ"จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์" เจ้าของหนังสือ "การเมือง เรื่องเซอร์เรียล" ได้ที่นี้

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: รัฐธรรมนูญผ่าน คสช.ยังอยู่ต่อเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญมีชัยจะผ่านการออกเสียงประชามติ ในเบื้องหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังจะอยู่กับเราอย่างน้อยก็ 15 เดือน และในเบื้องหลังบรรดาประกาศ/คำสั่ง และวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง จากคสช.ยังอยู่หลังจากเลือกตั้ง

นับถอยหลังประชามติรธน. : ความสับสนการรณรงค์ประชามติ รธน. – แสดงจุดยืน “รับ-ไม่รับ” กกต. บอกทำได้ แต่ คสช. ห้าม

กกต. ออกประกาศกำหนดสิ่งที่ทำได้-ไม่ได้ในการรณรค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่พล.อ. ประยุทธ์ จันโทชา บอกการรณรงค์แสดงจุดยืนทำไม่ได้ ขณะที่ ด้านนักวิชาการ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยพ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 ละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

เปิดร่าง พ.ร.บ.ประชามติ โพสต์ปลุกระดม ติดคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 2 แสน

ร่าง พ.ร.บ.ประชามติที่จะกำหนดกติกาการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีข้อน่าสนใจ เช่น การกำหนดโทษหนักถึง 10 ปีสำหรับการโพสต์ปลุกระดมหรือผิดจากข้อเท็จจริง ก่อนการทำประชามติ 7 วัน ห้ามเปิดเผยโพลที่เกี่ยวกับการออกเสียง กำหนดอายุผู้มีสิทธิออกเสียงไว้ที่ 18 ปี ส่วนแสดงความคิดเห็นหรือการรณรงค์สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตาม กกต. กำหนด

เส้นทางก่อนจะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ' 59

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 ร่างแรกถูกเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้รับทราบ จากนี้หากไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองแบบไม่คาดฝัน เส้นทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะจบลงที่การออกเสียงประชามติ นอกจากนี้ระหว่างทางเดินสู่ประชามติยังมีประเด็นสำคัญ คือ แรงกดดันให้แก้ไขหลักเกณฑ์การทำประชามติ และคำถามที่ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไรต่อไป 

ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข: เว็บไซต์ประชามติ = ภาคประชาชนที่นับได้

สถานการณ์ทางการเมืองตลอดปี 2558 มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทย และการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ จะมาสรุปบทเรียนในปีที่ผ่านมา และมองเป้าหมายการทำงานในอนาคตของเว็บไซต์

ชาวเน็ตเห็นด้วย! ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่น ความเห็นส่วนใหญ่ยังสับสนอยากให้ยกเลิก อบต.-อบจ.

ชาวเน็ตเห็นด้วย ให้ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่น อาทิ ยกระดับ อบต. เป็น เทศบาล การยุบเลิก อบจ. ให้ทำหน้าที่อำนวยการให้ อปท. ขนาดเล็ก แต่ทั้งนี้เห็นว่ายังต้องมีการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่เอาแบบสัดส่วนครึ่งๆ กับข้าราชการ นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าใจผิดจำนวนมากว่า การปฎิรูปดังกล่าวให้ยกเลิกองค์กรปกครองท้องถิ่นไปเลย

คม วิเคราะห์ การเมืองรอบสัปดาห์: อนาคต 'ร่างรัฐธรรมนูญ' มืดมน...

สมฤทัย วิเคราะห์การรับไม่รับ 'ร่างรัฐธรรมนูญ' ว่า สุดท้าย สปช. จะโหวตรับแบบ 'ไม่สนใจเนื้อหา' เพราะ รธน.ชั่วคราวใหม่ ไม่ว่าทางไหนก็ตายตกตามกันอยู่ดี หากเห็นชอบ ก็จะทำให้กระบวนการปฏิรูปประเทศโดย คสช.ที่ยังคั่งค้างอยู่ไม่เสร็จเรียบร้อย แต่ถ้าโหวต “คว่ำ” ร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะสอดคล้องกับเสนอ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” 

เปิดคำขอแก้ รธน. (1) : “229 สปช.-คณะรัฐมนตรี” ความเห็นเอกฉันท์ ขอแก้ปม ที่มา ส.ว.และสภาปฏิรูป

ไทยพับลิก้า สรุปคำขอแก้ไขร่างรัญธรรมนูญ ซึ่งประกอบไปด้วย ครม.-คสช. และสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้งนี้ ประเด็นที่มีการขอให้มีการแก้ไขเป็นส่วนใหญ่ อาทิ ที่มา ส.ว. และ สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปฯ สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ การปฎิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน การปฎิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี และการจัดทำ EHIA เป็นต้น 

กางอ่าน รธน. การเมือง ร้อน คสช.ส่งซิก...เออร์เรอร์

บทวิเคราะห์จากมติชนออนไลน์ ชี้สปช.หลายคนอภิปรายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมวิเคราะห์ว่า ประยุทธ์จะตอบคำถามนานาชาติไม่ได้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ยังไม่ได้ใช้นี้กำลังจะกลายเป็นปัญหาในอนาคต

Pages

Subscribe to RSS - คสช.