สรุปสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ
หากใครไม่มีเวลาอ่านร่างรัฐธรรมนูญเต็ม ยาว 95 หน้า 297 มาตรา เราสรุปสั้นๆ มาให้ที่นี่ พร้อมลิงก์ไปยังรายละเอียดแต่ละประเด็นหากต้องการรู้ต่อ
รีบศึกษาก่อนลงประชามติ
เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว!!
หากใครไม่มีเวลาอ่านร่างรัฐธรรมนูญเต็ม ยาว 95 หน้า 297 มาตรา เราสรุปสั้นๆ มาให้ที่นี่ พร้อมลิงก์ไปยังรายละเอียดแต่ละประเด็นหากต้องการรู้ต่อ
รีบศึกษาก่อนลงประชามติ
เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว!!
ทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญมีชัยเผยโฉมออกมา มันได้ส่งแรงกระเพื่อมไปยังกลุ่มคนหลายกลุ่มในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากมีความกังวลกันว่าสิทธิที่เคยได้รับการคุ้มครองในอดีตจะหายไปหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรม การจัดสวัสดิการโดยเสมอภาค และการรวมตัวกันเป็นสหภาพ
"หมวดปฏิรูป" ถูกเขียนอย่างสวยงามไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ พร้อมกำหนดให้มี "แผนยุทธศาสตร์ชาติ" ร่างโดยรัฐบาลคสช. มีผลผูกพันรัฐบาลหน้าไปด้วย แต่หากย้อนดูผลงาน คสช. ที่เคยลั่นวาจาไว้ว่าจะปฏิรูปประเทศก็ยังไม่เห็นว่าภาพฝันอันนี้จะเป็นจริงอย่างไร
แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญมีชัยจะผ่านการออกเสียงประชามติ ในเบื้องหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังจะอยู่กับเราอย่างน้อยก็ 15 เดือน และในเบื้องหลังบรรดาประกาศ/คำสั่ง และวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง จากคสช.ยังอยู่หลังจากเลือกตั้ง
สิทธิทางด้านสาธารณสุขในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ขณะที่คนร่างโปรโมตร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่าคุ้มครอง “ตั้งแต่ท้องแม่จนถึงแก่เฒ่า” ข้อกังวลของสังคมคือ ถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านจะเปิดทางให้ “ยกเลิกบัตรทอง” ในอนาคตหรือไม่
สมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตย แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ว่า ลดทอนสิทธิเสรีภาพ, ระบบเลือกตั้งบิดผันเจตจำนงของประชาชน, ส.ว.ไม่ได้มาจากประชาชน, เปิดทางให้มีนายกฯ คนนอก, ศาลรัฐธรรมนูญก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติและบริหาร, และเป็นการสืบทอดอำนาจ
หลายคนยังคงสับสนและงุนงงในหลายประเด็นสำหรับการออกเสียงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการเตรียมความพร้อม เราข้อย้ำเตือน 7 ประเด็นก่อนเข้าคูหาลงประชามติ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติของมีชัย ฤชุพันธ์ ยังยืนยันในรูปแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ คือระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA โดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เสียงทุกเสียงมีความหมาย ขณะที่นักวิชาการพรรคการเมืองสะท้อนว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ มีโอกาสที่จะซื้อเสียงมากขึ้น และไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียง ฯลฯ
มาแล้ว!!! ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ
ตามที่เฟซบุ๊กเฟจประชามติ จัดกิจกรรมให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กช่วยกันตั้งชื่อเล่นร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 กติกาคือให้ส่งชื่อเล่นโดยการคอมเม้นต์ใต้ภาพกิจกรรมที่เฟซบุ๊กประชามติ กิจกรรมนี้มีผู้ร่วมกว่า 145 คอมเม้นต์ ยังไม่รวมส่วนที่ถูกแชร์ต่อกันไปและคอมเม้นต์กันตามเพจอื่นๆ อีกไม่น้อยชื่อเล่นที่คอมเม้นต์เข้ามาและได้ยอดไลค์สูงสุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับ "มึน จน โฮ"