Error message

The specified file temporary://file4DFpRm could not be copied, because the destination directory is not properly configured. This may be caused by a problem with file or directory permissions. More information is available in the system log.

หน้าที่พลเมืองตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนด เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2132 คน
เห็นด้วย 459ไม่เห็นด้วย 1673

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติใหม่เรื่อง “ความเป็นพลเมืองและหน้าที่พลเมือง” ปรากฎอยู่ในมาตรา 26-27 มีสาระสำคัญ คือการกำหนดให้ประชาชนชาวไทยทุกคนเป็นพลเมือง พร้อมกำหนดสิ่งที่พลเมืองต้องปฏิบัติ และหน้าที่ของพลเมือง หลายประการ

“มาตรา 26 ประชาชนชาวไทยย่อมมีฐานะเป็นพลเมือง

พลเมืองต้องเคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เคารพหลักความเสมอภาค ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม มีค่านิยมที่ดี มีวินัย ตระหนักในหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม รู้รักสามัคคี มีความเพียร และพึ่งตนเอง

พลเมืองต้องไม่กระทำการที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติหรือศาสนา หรือไม่ยั่วยุ ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรงระหว่างกัน

รัฐมีหน้าที่ต้องปลูกฝังให้พลเมืองยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีค่านิยมประชาธิปไตย ตลอดจนจัดให้มีการศึกษาอบรมในทุกระดับ ทุกประเภท และทุกกลุ่มอายุ เพื่อสร้าง ความเป็นพลเมืองตามมาตรานี้

“มาตรา 27 พลเมืองมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ปกป้องและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้

(2) ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด

(3) เสียภาษีอากรโดยสุจริต

(4) ใช้สิทธิทางการเมืองโดยสุจริตและมุ่งถึงประโยชน์ส่วนรวม

(5) ช่วยเหลือราชการ ช่วยเหลือในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ รับการศึกษาอบรม ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพโดยสุจริต ปกป้อง พิทักษ์ อนุรักษ์ และสืบสานขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้ง สงวนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”

ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบัน ถือเป็นครั้งแรกที่กำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับ “หน้าที่” ขึ้นมาก่อน “สิทธิและเสรีภาพ” และบทบัญญัติว่าด้วย “หน้าที่พลเมือง” นี้ ก็ทำให้เกิดทั้งเสียงชื่นชม-สนับสนุน และคำถามกับข้อโต้แย้งตามมามากมาย

 

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

แม้จะผ่านมากว่า 83 ปีแล้ว แต่สาเหตุที่ประเทศไทยยังสร้างประชาธิปไตยไม่เสร็จเสียที เพราะเรามัวแต่สนใจให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ แต่ไม่สร้างสังคมประชาธิปไตย ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วง กบฎ รัฐประหาร ครั้งแล้วครั้งเล่า

การสร้างพลเมืองให้เข้มแข็ง จะช่วยสร้าง “สังคมประชาธิปไตย” ที่มีส่วนในการตวจสอบคัดกรองผู้ที่จะเข้ามามีอำนาจ 

โดยร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ ได้กำหนดให้มีพลเมืองเข้าไปเป็นสมาชิก “สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ” “สมัชชาพลเมือง” “องค์กรตรวจสอบภาคประชาชน” ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบผู้มีอำนาจและการใช้อำนาจรัฐ

Votes: ชอบ 4 ไม่ชอบ 11 4 ความเห็น

วิกฤตบ้านเมืองเมืองที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการประชาชนขาดจิตสำนึกในความเป็น “พลเมือง” เป็นเพียงผู้ถูปอุปถัมภ์ของชนชั้นปกครองใหม่ที่มาจาการเลือกตั้ง มีการใช้สิทธิและเสรีภาพตามอำเภอใจโดยไม่สนหน้าที่ ทำให้เกิดความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่ทำตามกติกาหรือกฎหมายนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่ใช้วิจารณญาณของตัวเอง มีการซื้อสิทธิขายเสียง ไม่ร่วมตรวจสอบผู้มีอำนาจรัฐ สนใจแต่เรื่องบันเทิงเริงรมณ์

ทั้งที่ พลเมือง (citizen) ไม่ได้หมายถึงผู้ถูกปกครองเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นผู้มีบทบาทในการเสนอนโยบายสาธารณะหรือตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 5 2 ความเห็น

ถือให้เป็นหน้าที่ของพลเมืองในการต่อต้านรัฐประหาร และปลูกฝังการต่อต้านรัฐประหารให้กับประชาชนทุกคนโดย ให้แก้ปัญหาด้วยกระบวนการประชาธิปไตย  ต้องเข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญ 50

Votes: ชอบ 6 ไม่ชอบ 0 4 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

ค่านิยมเป็นความเชื่อส่วนบุคคล การกำหนดให้พลเมืองต้องมี “ค่านิยมที่ดี” จึงเกิดคำถามว่าจะเป็นค่านิยมที่ดีของใคร หรือดีสำหรับใคร ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย

เนื้อหาที่ปรากฎในบทบัญญัติเรื่องหน้าที่พลเมือง หลายส่วนถูกมองว่าหยิบยกมาจากค่านิยม 12 ประการของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.

ซึ่งก็จะเกิดคำถามตามมาว่า “ค่านิยมที่ดี” สำหรับ พล.อ. ประยุทธ์ หรือ คสช. ควรจะเป็น “ค่านิยมที่ดี” สำหรับประชาชนชาวไทยทั้งชาติ จริงหรือไม่

 

Votes: ชอบ 18 ไม่ชอบ 1 6 ความเห็น

แม้เนื้อหา “หน้าที่พลเมือง” บางส่วน จะถูกหยิบมาจาก “หน้าที่ของชนชาวสยาม/ชนชาวไทย” ซึ่งปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร จำนวน 10 ฉบับ ทั้งปี 2475 ปี 2489 ปี 2492 ปี 2495 ปี 2511 ปี 2517 ปี 2521 ปี 2534 ปี 2540 และปี 2550 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกำหนดให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น เสียภาษีอากร รับราชการทหาร ป้องกันประเทศ ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือไปเลือกตั้ง

แต่ “หน้าที่พลเมือง” ในร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับล่าสุด กลับมีการกำหนดเรื่องที่เป็นนามธรรม และเป็นเรื่องเชิงปัจเจก เช่นกำหนดว่าต้องเคารพอะไร? หรือมีค่านิยมอย่างไร?

Votes: ชอบ 12 ไม่ชอบ 1 3 ความเห็น

ยกตัวอย่างของหน้าที่พลเมืองที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่ เช่น

“...ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม มีค่านิยมที่ดี มีวินัย ตระหนักในหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม รู้รักสามัคคี มีความเพียร และพึ่งตนเอง...” หรือ 

“...ช่วยเหลือราชการ ช่วยเหลือในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ รับการศึกษาอบรม ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพโดยสุจริต ปกป้อง พิทักษ์ อนุรักษ์ และสืบสานขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้ง สงวนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม...”

Votes: ชอบ 7 ไม่ชอบ 0 5 ความเห็น

การกำหนดหน้าที่พลเมืองไว้ในกฎหมายให้ประชาชนปฏิบัติตาม แสดงว่าประชาชนจะ "ต้อง" ปฏิบัติ

แล้วใครจะเป็นผู้ตัดสินว่าพลเมืองผู้นั้นทำผิดกฎหมาย ตำรวจ? ทหาร? นักการเมือง? หรือผู้มีอำนาจ?

มาตรฐานการตัดสินอยู่ตรงไหน? ใช้ดุลพินิจที่่เป็นความรู้สึก ที่คิดเอาเองมากกว่าหลักนิติธรรมที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้

Votes: ชอบ 7 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น