ประชามติ

‘พิเชษฐ’ อดีตส.ส.ปชป. ไม่รับรธน. คว่ำประชามติ เปรียบนักกีฬามีสิทธิไม่แข่งหากกติกาเถื่อน

พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอดีต ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ภาพข้อความที่ตนเองให้สัมภาษณ์กับสื่อและอธิบายประกอบผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า ประกาศไม่รับรัฐธรรมนูญ พร้อมลงมติคว่ำชั้นประชามติ

‘สปช.นิรันดร์’ หวั่นรธน.ไม่ผ่านประชามติ เสนอใช้เสียงข้างมากของ ‘ผู้มาใช้สิทธิ’ แทน ‘ผู้มีสิทธิ’

นิรันดร์ พันทรกิจ เสนอเปลี่ยนจากผ่านประชามติด้วยเสียงข้างมากของ ‘ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง’ เป็น ‘ผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง’ เพื่อความเป็นไปได้ที่ รธน.จะผ่าน ‘บุญเลิศ-นิมิต’ ประกาศโหวตไม่รับร่าง

เทียนฉายโชว์ผลงาน สปช. เผย "สมาชิกรู้ดีว่าเราฉีกใบสั่งทิ้งไปกี่ใบ"

เทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวในหัวข้อ "ประธาน สปช. เปิดใจจะปฏิรูปอะไร" ถึงการทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมาของ สปช. และยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สปช. กับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่ามีความลึกซึ้ง ยากจะอธิบาย เผย "เรื่องคานงัด" ที่ต้องปฏิรูปใหญ่มี 2 เรื่อง คือ การบริหารราชการแผ่นดินและการศึกษา

ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 - เพิ่มขั้นตอนทำประชามติ

ราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพิ่มขั้นตอนหลังยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ทำประชามติ - ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลงหากพิจารณาร่าง รธน.ไม่ทันเวลาที่กำหนด หรือ พิจารณาร่าง รธน.แล้วเสร็จ ไม่ว่าจะมีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่าง รธน. - หลังจากนั้นจะต่อด้วย "สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ" ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง

อ่านเอาเรื่อง - รับ-ไม่รับแบบ "ทั้งฉบับ" หรือ "รายมาตรา" ? กับประเด็นปัญหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

สุเจน กรรพฤทธิ์ นักเขียนสารคดี เขียนเรื่องประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในคอลัมน์อ่านเอาเรื่องนิตยสารสารคดี ฉบับที่ 364 โดยข้อเขียนนี้สุเจนพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพือให้ข้อมูลเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านชาวไทยที่จะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของประเทศในการลงประชามติ

เว็บไซต์ประชามติ เปิดผลโหวต เสียงผู้ใช้เน็ตส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับ 4 ประเด็นของมติรัฐธรรมนูญ

เว็บไซต์ประชามติ เปิดผลโหวต 4 ประเด็น เสียงผู้ใช้เน็ตส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย กับการตั้งศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังฯ และไม่เห็นด้วยที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และการก่อตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงการควบรวมคณะกรรมการสิทธิฯ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน 

กิจกรรม 'เปิดกล้อง ร้องป่าว โรดแม็ปสู่การเลือกตั้ง อยากได้แบบไหน?'

Prachamati.org ขอเชื้อเชิญประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ร่วมกันแสดงออกว่า หนทาง หรือ โรดแแมป ไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น ควรจะเป็นอย่างไร เพียงท่าน ถ่ายรูปกับสิ่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ กำแพง หรือฝ่ามือ พร้อมข้อความว่า "My Roadmap" แล้วเขียนคำบรรยายใต้รูป ในหัวข้อ "โรดแม็ปสู่การเลือกตั้ง คุณอยากได้แบบไหน" จากนั้นติดแฮชแท็ก ‪#‎Prachamati‬ แล้วโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม หรือสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ 

คุยกับ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี : ว่าด้วยประชามติ 'ประยุทธ์' อยู่ต่อเลยได้ไหม

หลังที่ประชุม คสช.ร่วมกับครม.ได้ข้อสรุปเตรียมแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทำให้ประเด็นการลงประชามติ กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ประชาไท สัมภาษณ์ รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี จากศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย ถึงความหมาย หลักการ เงื่อนไขของการทำประชามติ ประสบการณ์ประชามติในต่างประเทศ รวมทั้งประเมินความเป็นไปได้ ผลกระทบของการทำประชามติทั้งร่างรัฐธรรมนูญและการต่ออายุคสช.

รองนายกฯ ชี้แจงกติการ่วมก่อนทำประชามติ

ผู้จัดการออนไลน์ รายงาน  การชี้แจงของ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการทำประชามติว่า จะม่มีการลงประชามตินอกราชอาณาจักร หรือลงคะแนนล่วงหน้า เนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ นอกจากนี้ เกณฑ์การนับคะแนนให้ยึดเสียงข้างมาก แต่ไม่ต้องถึงครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ลงประชามติทั้งหมดก็ได้ เรื่องการรณรงค์ประชามติรัฐบาลจะผ่อนคลายให้ แต่ห้ามขัดขวาง ฉีกบัตร ทำโพลก่อน 7 วัน หรือรณรงค์ให้ไม่ไปใช้สิทธิ์ ไม่งั้นมีความผิด

คสช. เลื่อน #roadmap2 เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 550 คน
เห็นด้วย 171ไม่เห็นด้วย 379

คสช. และ ครม. มีข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ด้วยกัน 7 ประเด็น ซึ่งส่งผลให้ road map เดิมของ คสช.ต้องเปลี่ยนไป เช่น ขยายเวลาให้กรรมาธิการยกร่างฯแก้ไขเพิ่มแต่ไม่เกิน 30 วัน เมื่อ สปช.ได้ลงมติในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ตาม ถือว่าภารกิจเสร็จสิ้นลงแล้ว และให้ตั้ง สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศขึ้นมาแทนซึงอาจจะเป็นตัวแทนจากสภาปฎิรูป และไม่ว่า กมธ.ยกร่างฯจะสิ้นสุดด้วยกรณีใด (สปช.ไม่เห็นชอบ-ลงประชามติไม่ผ่าน) นายกรัฐมนตรีจะตั้ง 'คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ' จำนวน 21 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีเวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำนวน 180 วัน ก่อนไปลงประชามติใหม่

Pages

Subscribe to RSS - ประชามติ