ประชามติ

ที่ประชุม ครม.-คสช. เห็นชอบ ให้แก้ไขรธน.′57เพื่อเปิดช่อง "ทำประชามติ"

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช. มีมติเห็นชอบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการทำประชามติก็จะใช้เวลา 3 เดือน

นับคะแนนเว็บประชามติ คนใช้เน็ต 93% อยากให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

เว็บไซต์ Prachamati.org เปิดผลการออกเสียงในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ สามประเด็น เผยผู้ใช้เน็ต 93% อยากให้มีการทำประชามติ 87% ไม่เห็นด้วยกับการเขียนที่มา ส.ว. และ 90% ไม่เอานายกคนนอก

วันนี้ (18 พ.ค. 2558) เวลา 12.30 น. เว็บไซต์ประชามติเปิดผลโหวต 3 ประเด็นเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ ก่อน คสช.จะประชุมและตัดสินใจ ในวันอังคารที่ 19 พ.ค. 2558 ว่าจะประกาศให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

ตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 977 คน
เห็นด้วย 278ไม่เห็นด้วย 699

ตามเจตนารมณ์ข้อที่ 4 ของการร่างรัฐธรรมนูญคือการนำชาติสู่สันติสุข ได้กำหนดเนื้อหาในภาค 4 หมวด 3 ให้มีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการไม่เกิน 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองหรือความขัดแย้ง และผู้ซึ่งเป็นผู้นำความขัดแย้ง ขึ้นมาทำหน้าที่หาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข เป็นคนกลางในการประสานความขัดแย้ง รวมถึง เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่บุคคลซึ่งให้ความจริงอันเป็นประโยชน์และได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ เป็นต้น

“จอน อึ๊งภากรณ์” เปิดเวทีอภิปราย รธน.-จุดประเด็นประชามติ ให้ “พลเมืองเป็นใหญ่” ผ่านเว็บไซต์ Prachamati.org

สื่อมวลชนทางเลือกกลุ่มหนึ่ง นำโดย iLaw, ประชาไท, ไทยพับลิก้า และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเปิด “เวที” ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นที่มาของเว็บไซต์ Prachamati.org โดยมี “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้ผลักดัน ลองรับฟังเหตุผลว่า  Prachamati.org เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

“โคทม อารียา” วิพากษ์ รธน. ฉบับแกงโฮะ อย่าให้พลเมืองรู้ดีแค่ 36+200 คน กำหนดอนาคตคนรุ่นต่อไป

หนึ่งในพันธมิตรร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Prachamati.org ให้เป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็คือ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (สสมส.) แต่เพราะเหตุใด สสมส. และโคทม อารียา ถึงมาร่วมกับก่อตั้งเว็บไซต์นี้ และความเห็นของโคทม ต่อการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ต่อเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ต่อบทบัญญัติเรื่องหน้าที่พลเมือง และต่อวาทกรรมเรื่องพลเมืองเป็นใหญ่ 

สฤณี อาชวานันทกุล: เมื่อประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องสีเสื้อ กับการร่วมงานครั้งแรกของคนทำงานพื้นที่ออนไลน์

ประชาไทสัมภาษณ์ สฤณี อาชวานันทกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและคณะบรรณาธิการ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ประชามติ ถึงความเป็นมาเหตุใดไทยพับลิก้าได้เข้ามาร่วมกับเว็บประชามติ ความคาดหวังกับการรวมตัวครั้งนี้ รวมทั้งความเห็นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

สี่องค์กรจับมือเปิดตัวเว็บไซต์ประชามติ

ภาพจาก Thaipublica

 

 

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม เวลา 15.30 น. สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักข่าวไทยพับลิก้า ประชาไท และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) จัดงานเปิดตัวเว็บไซต์ Prachamati.org ที่ร้านบราวน์ชูการ์ เดอะ แจ๊ส บูทีค ใกล้แยกผ่านฟ้า ถ.พระสุเมรุ

นักวิชากร-นักศึกษา-ภาคประชาชน เรียกร้องให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นประชาธิปไตย

นักวิชาการ นักศึกษา กลุ่มสหภาพแรงงาน นักเขียน ผู้กำกับ สื่อมวลชน นักการเมือง และประชาชนภาคส่วนต่างๆ ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นประชาธิปไตย เสนอหากร่างรัฐธรรมนูญนี้ตกไป ต้องตั้งสสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

‘ประชามติ’ รัฐธรรมนูญใหม่ ใครคิดยังไง?

แม้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้กำหนดไว้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดปี 2558 ต้องทำประชามติ  แต่ก็มีเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายให้ทำประชามติ ขณะเดียวกันเสียงของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติก็มีเช่นกัน บทความนี้จึงความเห็นที่หลากหลายของ คสช. กมธ.ยกร่างฯ นักการเมือง รวมถึง กกต. ต่อประเด็นนี้

รัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านการทำประชามติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3135 คน
เห็นด้วย 2941ไม่เห็นด้วย 194

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้กำหนดว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเสร็จจะต้องมีการทำประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชน อย่างไรก็ดี มีเสียงสนับสนุนให้ร่างรัฐธรรมนูญถาวรควรต้องทำประชามติ เพราะจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่าหากมีประชามติจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่สามารถสะท้อนเสียงของประชาชนได้จริง และอาจทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป

Pages

Subscribe to RSS - ประชามติ