ประชามติ

ที่ประชุมร่วม ‘ครม.-คสช.’ ได้ข้อสรุปเตรียมแก้ไขร่างรธน. 7 ประเด็น

9มิ.ย.58 วิษณุ เครืองาม แถลงหลังการประชุมร่วม ครม.และ คสช. ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ใน 7 ประเด็น ใช้ชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 โดยแก้ไขประเด็นสำคัญ เช่น การขยายระยะเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติ ขณะที่ กกต.ระบุการลงประชาประชามติน่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม 2559

จับตาประชามติ หลัง ครม-คสช. มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2557

หลังจากที่กระแสให้มีการประชามติ 'ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง' ซึ่งอาจจะส่งผลให้รัฐบาลทหารอยู่ต่ออีก 2 ปี ก็มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและคัดค้าน อย่างไรก็ดี การประชุมระหว่าง คสช.-ครม. ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าหลังจากนี้ ฝ่ายใดของรัฐบาลจะเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ขยายเวลากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ไม่เกิน 30 วัน และหากลงประชามติไม่ผ่านให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างใหม่ 21 คน

เปิดผลโหวต คนอยากได้‘สสร.’-รัฐธรรมนูญ40 นักวิชาการชี้ต้องยกเลิก ม.44 คำสั่งคสช. ก่อนลงประชามติ

เว็บไซต์ประชามติ จัดเสวนา “ทำประชามติอย่างไร ไม่ให้เสียของ” ผู้เสวนาได้แก่  ประภาส ปิ่นตบแต่ง, จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร, ปองขวัญ สวัสดิ์ภักดิ์ และสุนี ไชยรส เห็นตรงกันว่า การลงประชามติ ควรทำบรรยากาศให้เป็นประชาธิปไตยด้วย เช่น ให้รณรงค์อภิปรายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญได้อย่างเสรี และเงื่อนไขในการประชามติต้องมีทิศทางที่ประชาชนจะได้รัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการประชาธิปไตย

ชาวเน็ตส่งเสียงประชามติไม่ผ่านนำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้

20 พ.ค. 2558 เว็บไซต์ prachamati.org เปิดโหวตในคำถาม “หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร?” โดยมี 6 ตัวเลือกให้ชาวเน็ตเลือกว่า “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” ซึ่งถึง 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทุกคำตอบมีผู้โหวตเกิน 1,000 คน เป็นที่เรียบร้อย แต่ก่อนการเปิดผลว่าชาวเน็ตส่วนใหญ่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบวิธีไหน เราจึงขอเรียกน้ำย่อยจากการสำรวจคอมเม้นท์ในเว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊กประชามติ ว่าคิดเห็นกับประเด็นนี้อย่างไรบ้าง?

 

มติครม. แก้ รธน.ชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทำประชามติได้

3 มิ.ย.2558 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี( 2 มิ.ย.) มีมติให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าเมื่อมีข้อเสนอจากหลายฝ่ายที่ต้องการให้ทำประชามติ รัฐบาลจึงเป็นผู้ตัดสินใจ เพื่อไม่ให้เป็นการโยนปัญหาว่าฝ่ายใดมีอำนาจในการตัดสินใจในอนาคต ทั้งนี้ จะบรรจุ 4 แนวทางแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะมีทางออกอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะอยู่ระหว่างการชั่งน้ำหนักข้อดี ข้อเสียและทางออก

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ประชามติและการเลือกตั้งโดยเร็ว

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ แสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการลงประชามติและการเลือกตั้งว่า ขบวนการประชาธิปไตยควรจะสนับสนุนการลงประชามติในครั้งนี้ ด้วยเป้าหมายอันชัดเจน คือ เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มากที่สุด สร้างกระแสให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับประชาชนในทุกเงื่อนไข เพื่อจะนำไปสู่การล้มหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นอกจากนี้ ต้องรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เพื่อทดแทนการเลือกตั้งที่ถูกลัก 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 โดยไม่ต้องคอยกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ

ประชามติที่แท้จริง: บทเรียนจากประชามติรัฐธรรมนูญ 2550

ประเทศไทยเคยผ่านการทำประชามตืหนึ่งครั้งคือการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 แม้ผลของการทำประชามติจะสรุปว่าคนไทยเกินครึ่งประเทศเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่หากมองลึกลงในการทำประชามติครั้งนั้นจะพบข้อกังขาอยู่หลายประการ สฤณี อาชวานันทกุล สรุปบทเรียนจากการทำประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 และชวนทุกคนเสนอประชามติที่แท้จริง

'ไอร์แลนด์' แก้ รธน. ด้วยประชามติไฟเขียวแต่งงานคนรักเพศเดียวกัน

ในการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อนุญาตการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันฝ่ายสนับสนุนได้รับชัยชนะจากคะแนนสนับสนุนร้อยละ 62.1 ต่อ 37.9 ท่ามกลางบรรยากาศของการเฉลิมฉลองให้กับ "ความเสมอภาค" จากกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ขณะที่ฝ่ายรณรงค์คัดค้านกล่าวแสดงความยินดีต่อผู้ชนะ

หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร?

วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงมติการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติ อย่างไรก็ตามคำถามสำคัญของการลงประชามติครั้งนี้คือ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผลลัพธ์ที่จะเป็นที่ยอมรับคืออะไร?

"วิษณุ" คาดทำประชามติ ม.ค. 59 ได้เลือกตั้งไม่เกิน ส.ค. 59

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี คาดเสนอแก้ไข รธน. ชั่วคราวได้ มิ.ย.นี้ เพื่อเปิดทางทำประชามติ และจะได้ทำประชามติไม่เกิน ม.ค. 59  ยอมรับการทำประชามติกระทบโรดแมป ขยับไป 3-4 เดือน ส่วนการจัดการเลือกตั้งน่าจะไม่เกิน ส.ค. 59

Pages

Subscribe to RSS - ประชามติ