ประชามติ ที่ปิดการโหวตแล้ว

ให้มี คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 791 คน
เห็นด้วย 186ไม่เห็นด้วย 605

กมธ.ยกร่างรธน.กำหนดให้มี "คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ" จำนวน 23 คน มีที่มา 3 ส่วน คือ หนึ่ง มาจากประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา และผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ กับตำรวจ สอง มาจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา เลือกกันเอง สาม ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 11 คน จากมติรัฐสภา มีอำนาจพิเศษสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร ฝ่ายสนับสนุนมองนี้จะช่วยแก้ปัญหามาเกิดวิกฤตรัฐบาล ฝ่ายคัดค้านการแก้วิกฤตต้องให้ประชาชนตัดสิน

ครม.เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.จีเอ็มโอ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 315 คน
เห็นด้วย 95ไม่เห็นด้วย 220

24 พ.ย. 58 ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ.จีเอ็มโอ สาระสำคัญคือ ร่าง พ.ร.บ.นี้ จะใช้ดูแลสิ่งมีชีวิตที่มีการตัดต่อ ตัดแต่ง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม ที่ได้จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ร่างพ.ร.บ.นี้ถูกคัดค้านจากภาคประชาสังคม เพราะไม่มีแนวทางปกป้องคุ้มครองการปลดปล่อยพืช สัตว์ จีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และไม่มีการระบุความผิดหากเกิดผลกระทบขึ้น ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า ควรมีกฎหมายที่ควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และจีเอ็มโอมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังเพิ่มผลผลิตพืชไร่  ลดการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศ

ยุบ OKMD เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 328 คน

จากกระแสข่าวในโซเชียลมีเดียว่าจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ยุบ OKMD หรือสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึ่งประกอบด้วย TK PARK หรือสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TCDC หรือศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และ Museum Siam หรือพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เนื่องจากหน่วยงานทั้งสามไม่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายที่เห็นว่าควรยุบ มองว่าหน่วยงานดังกล่าวใช้งบประมาณจำนวนมาก ไม่คุ้มค่ากับผลลัพธ์ ส่วนฝ่ายที่คัดค้านเห็นว่า TK PARK และมิวเซียมสยามได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อเทียบกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ และใช้งบน้อยแต่ได้สาระเยอะ รวมถึงเป็นโครงสร้างทางปัญญาให้กับเด็กและเยาวชน

ใช้ค่ายทหารเป็นเรือนจำชั่วคราวเห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 561 คน
เห็นด้วย 78ไม่เห็นด้วย 483

พลันที่มีการเสียชีวิตของผู้ขังถึงสองรายในเรือนจำพิเศษชั่วคราวซึ่งตั้งอยู่ในค่ายทหาร (มทบ.11) ก็เกิดข้อสงสัยจำนวนมากโดยเฉพาะความเหมาะสมของสถานที่ที่ใช้ในการควบคุมตัวผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ที่ดูแล ฝ่ายที่เห็นด้วยถึงการมีอยู่ของเรือนจำพิเศษประเภทนี้ให้เหตุผลเ่น การให้ทหารดูแลจะช่วยให้ผู้ต้องขังความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตมากกว่า ขณะที่ฝ่ายคัดค้านให้เหตุผลว่าเรือนจำดังกล่าวจะขาดการตรวจสอบโดยบุคคลภายนอก และอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ คุณเห็นด้วยหรือไม่ ใช้ค่ายทหารเป็นเรือนจำชั่วคราว?  

ปฎิรูปกองทัพไทย เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 681 คน

"ทหาร" มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมไทย แต่ทว่าประเด็นการปฏิรูปกองทัพกลับไม่เคยเด่นชัดสักครั้งในประวัติศาสตร์ แม้ขณะปัจจุบันที่มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง สถานของกองทัพเองก็ไม่ได้เป็นที่พูดถึง ฝ่ายที่เห็นด้วยให้ปฏิรูปกองทัพให้เห็นผลว่า ปัจจุบันทหารไม่มียึดโยงกับประชาชน มีงบประมาณมากเกินความจำเป็น และบ้างภารกิจไปซับท้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ฝ่ายที่คัดค้านเห็นว่า การคงสถานะเช่นของกองทัพจะช่วยผ่าทางตันทางการเมืองเมื่อรัฐบาลพลเรือนทำบ้านเมืองเสียหาย ทหารจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน 

ยุบ อบจ. และ อบต. เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 899 คน
เห็นด้วย 677ไม่เห็นด้วย 222

เมื่อปลายปีที่แล้วมีข่าวว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้วางแนวทางปฏิรูปโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ให้เทศบาลเมืองกับเทศบาลนครของจังหวัด ยุบรวมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แล้วตั้งเป็น “เทศบาลจังหวัด” สมาชิกจะมาจากการเลือกตั้ง 50% และแต่งตั้ง 50% ส่วน อบจ.เดิมที่ไม่ใช่ส่วนการเมืองก็จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายข้าราชการท้องถิ่น ที่มีหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับเทศบาล และเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด” ขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะถูกยกเลิกทั้งหมด และเปลี่ยนรูปแบบเป็น “เทศบาลตำบล”

ยกเลิกสะพานลอยข้ามถนนเห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 424 คน

ปัจจุบันการข้ามถนนในประเทศไทยจะใช้สะพานลอยเป็นหลักเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุ แต่คนจำนวนไม่น้อยก็เลือกที่จะเดินข้ามถนนที่ไม่มีทางม้าลายมากกว่าสะพานลอย แม้ว่าจะต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุก็ตาม เหตุผลข้อหนึ่งคือสะพานลอยเป็นอุปสรรคในการข้าม โดยเฉพาะกับคนพิการหรือคนแก่ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการขึ้นบันได ดังนั้นมีทางม้าลายจึงน่าจะดีกว่า คุณเห็นด้วยหรือไม่ให้ยกเลิกสะพานลอย?

หัวหน้า คสช.ใช้ ม. 44 พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 390 คน

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องการจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้ถาวร ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินให้เป็นที่ราชพัสดุ  ก่อนเปิดให้เอกชนยื่นขอเช่าใช้ประโยชน์เพื่อการลงทุนระยะยาว 50 ปี โดยมีเนื้อที่รวมทั้งหมด 8,478 ไร่ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดน ได้แก่ จ.ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด และหนองคาย

ครม.ชุดปัจจุบัน เลือก ส.ว.ชุดแรก เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 503 คน
เห็นด้วย 81ไม่เห็นด้วย 422

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดมีประเด็นสำคัญคือ บทเฉพาะกาลเรื่องการกำหนดที่มาให้ ส.ว.สรรหา ชุดแรก จำนวน 123 คน มาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดปัจจุบัน โดย “ฝ่ายสนับสนุน” เห็นว่าการให้อำนาจ ครม.ชุดปัจจุบันเป็นผู้สรรหา จะช่วยสนับสนุนภารกิจของรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศ ร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ขณะที่ “ฝ่ายคัดค้าน” เห็นว่าน่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจโดยไม่มีข้อห้ามให้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง

ให้มีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 520 คน
เห็นด้วย 105ไม่เห็นด้วย 415

มีข้อเสนอจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้ “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” เป็นคำถามสำหรับการทำประชามติ ควบคู่กับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในคราวเดียวกัน หากเรื่องรัฐบาลปรองดองผ่านการเห็นชอบจากประชาชน จะมีการกำหนดในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญให้จัดตั้ง “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” โดยต้องใช้เสียง ส.ส. สนับสนุน 4 ใน 5 จาก 450 คน หรือ ต้องใช้เสียง 360 คน ส่วนที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน และจะบริหารประเทศในช่วงเวลาประมาณ 4-5 ปี เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปและการปรองดองร่วมกัน

Pages