ประชามติ ที่ปิดการโหวตแล้ว

ให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 763 คน
เห็นด้วย 105ไม่เห็นด้วย 658

ตามปกติศาลทหารจะพิจารณาเฉพาะคดีที่จำเลยเป็นทหารเท่านั้น แต่เมื่อ 25 พฤษภาคม 2557 "พลเรือนขึ้นศาลทหาร" กลายเป็นกระแสที่ผู้คนสนใจ เมื่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 เรื่อง กำหนดให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในคดีความต่อไปนี้ ได้แก่ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 - 112  ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 - 118 และความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. ทั้งศาลทหารภายใต้กฎอัยการศึกไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา ตัดสินอย่างไรให้ถือเป็นที่สุดทันที 

คสช. เลื่อน #roadmap2 เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 550 คน
เห็นด้วย 171ไม่เห็นด้วย 379

คสช. และ ครม. มีข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ด้วยกัน 7 ประเด็น ซึ่งส่งผลให้ road map เดิมของ คสช.ต้องเปลี่ยนไป เช่น ขยายเวลาให้กรรมาธิการยกร่างฯแก้ไขเพิ่มแต่ไม่เกิน 30 วัน เมื่อ สปช.ได้ลงมติในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ตาม ถือว่าภารกิจเสร็จสิ้นลงแล้ว และให้ตั้ง สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศขึ้นมาแทนซึงอาจจะเป็นตัวแทนจากสภาปฎิรูป และไม่ว่า กมธ.ยกร่างฯจะสิ้นสุดด้วยกรณีใด (สปช.ไม่เห็นชอบ-ลงประชามติไม่ผ่าน) นายกรัฐมนตรีจะตั้ง 'คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ' จำนวน 21 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีเวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำนวน 180 วัน ก่อนไปลงประชามติใหม่

โรงไฟฟ้าถ่านหินเหมาะสมกับประเทศไทย เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 544 คน
เห็นด้วย 157ไม่เห็นด้วย 387

ความขัดแย้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ และคดีความโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง ที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ศาลตัดสินให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต้องดำเนินมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ป่วยเนื่องจากมลภาวะจากโรงไฟฟ้า แต่เมื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หยิบยกประเด็นนี้มากล่าวว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าที่ถูกที่สุดในการลงทุน และแทบไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การถกเถียงในสังคมเป็นวงกว้างว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่?

ให้มี คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 763 คน
เห็นด้วย 184ไม่เห็นด้วย 579

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้มี “คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม” จำนวน 7 คน ขึ้นมา เพื่อพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในระดับปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง กลายเป็นประเด็นร้อนที่ก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมาก เพราะเท่ากับเป็นการ “ตัดอำนาจ” ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงซึ่งเดิมเป็นอำนาจเต็มของฝ่ายบริการที่มีที่มาจากการเลือกตั้ง

 

ร่างรัฐธรรมนูญสร้างกลไกกำกับนโยบายของรัฐบาล เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 516 คน
เห็นด้วย 151ไม่เห็นด้วย 365

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2558 ได้ออกแบบกลไกใหม่ๆ ขึ้นมากำกับหรือตีกรอบการกำหนดนโยบายของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดห้ามใช้นโยบายประชานิยม กำหนดกรอบการปฏิรูป 15 ด้าน ไว้ในหมวด 4 และกำหนดให้รัฐบาลต้องทำตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ด้านหนึ่งก็เป็นป้องกันการใช้นโยบายประชานิยมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ และเป็นการสานต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศให้มีความต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่งอาจมองได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะขาดอิสระในการดำเนินนโยบาย และองค์กรที่มากำกับนโยบายก็ไม่ยึดโยงกับประชาชน

ให้มีศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ คุณเห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1002 คน
เห็นด้วย 327ไม่เห็นด้วย 675

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้ศาลปกครองจัดตั้ง “แผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ” ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบและยับยั้งการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่งบประมาณหรือเงินของแผ่นดิน โดยเบื้องต้นผู้ที่มีสิทธิในการส่งฟ้องคดี จะมีทั้ง คตง. ป.ป.ช. และประชาชนทั่วไป ซึ่งด้านหนึ่งก็มีเสียงชื่นชมว่าจะช่วยแก้ปัญหาฝ่ายการเมืองที่มักจะใช้นโยบายประชานิยมที่ส่งผลเสียต่องบประมาณประเทศและทำให้การตรวจสอบทุจริตครอบคลุมมากขึ้น แต่อีกด้านก็มีเสียงวิจารณ์ว่า จะทำให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร และทำให้รัฐบาลทำงานยากลำบากมากขึ้น ไม่มีใครกล้าคิดนโยบายที่ต้องใช้เงินช่วยเหลือประชาชน

ตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 977 คน
เห็นด้วย 278ไม่เห็นด้วย 699

ตามเจตนารมณ์ข้อที่ 4 ของการร่างรัฐธรรมนูญคือการนำชาติสู่สันติสุข ได้กำหนดเนื้อหาในภาค 4 หมวด 3 ให้มีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการไม่เกิน 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองหรือความขัดแย้ง และผู้ซึ่งเป็นผู้นำความขัดแย้ง ขึ้นมาทำหน้าที่หาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข เป็นคนกลางในการประสานความขัดแย้ง รวมถึง เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่บุคคลซึ่งให้ความจริงอันเป็นประโยชน์และได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ เป็นต้น

ควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เห็นด้วยหรือไม่ ?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 895 คน
เห็นด้วย 325ไม่เห็นด้วย 570

ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2558  ได้มีการควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เข้าด้วยกัน เกิดเป็นองค์กรใหม่คือ “ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีทั้งเสียงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่า การควบรวมจะช่วยประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทั้งสององค์กรและช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยเชื่อว่าการควบรวมจะไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพราะทั้งสององค์กรมีหน้าที่และกระบวนการทำงานต่างกัน และจะทำให้ประชาชนเหลือช่องทางร้องเรียนแค่ช่องเดียว

หน้าที่พลเมืองตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนด เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2132 คน
เห็นด้วย 459ไม่เห็นด้วย 1673

ร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นครั้งแรกที่กำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับ “หน้าที่” ขึ้นมาก่อน “สิทธิและเสรีภาพ” โดยบทบัญญัติ “หน้าที่พลเมือง” นี้ ทำให้เกิดทั้งเสียงสนับสนุน และคำถามโต้แย้งตามมามากมาย สำหรับเสียงสนับสนุนมองว่าเป็นการยกสถานะของประชาชนเป็นพลเมือง ทำให้พลเมืองรู้หน้าที่มากขึ้น ไม่ใช่เสรีภาพตามอำเภอใจ และจะช่วยทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าการกำหนดหลายอย่างดูจะเป็นนามธรรม โดยเฉพาะค่านิยมที่พลเมืองต้องปฏิบัติตาม ซึ่งขัดกับความเป็นจริงที่ประชาชนมีความหลากหลายและยึดถือค่านิยมที่แตกต่างกัน

ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2174 คน
เห็นด้วย 232ไม่เห็นด้วย 1942

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการบัญญัติให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาหลายองค์กร และหนึ่งในนั้นคือ 'สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ' โดยแนวคิดริเริ่มขององค์กรดังกล่าวเกิดขึ้นจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ได้เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติ สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ.... เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ดี เนื้อสาระสำคัญเกี่ยวกับองค์กรดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่จะมีการตราเป็นพระราชบัญญัติ กับ ส่วนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

Pages