ครม.เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.จีเอ็มโอ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 315 คน
เห็นด้วย 95ไม่เห็นด้วย 220

24 พฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ.จีเอ็มโอตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอหลังจากที่มีการถกเถียงเกี่ยวกับกฎหมายนี้มากว่า 14 ปี  โดยร่างพ.ร.บ.ฉบับที่ ครม. เห็นชอบ มีสาระสำคัญคือ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะใช้ดูแลสิ่งมีชีวิตที่มีการตัดต่อ ตัดแต่ง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม ที่ได้จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ แต่ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นยาสำหรับมนุษย์ หรือสัตว์ 

นอกจากนี้ กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ 22 คน ซึ่งมีปลัด ทส. เป็นประธานกรรมการ ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมไม่ให้ปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมใดๆ สู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าวได้ผ่านการควบคุม ทดสอบและประเมินความเสี่ยงอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ และได้ขึ้นบัญชีว่าสามารถปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมไว้แล้ว

ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ถูกคัดค้านอย่างหนักจากภาคประชาสังคม ชมรมแพทย์ชนบทและสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพราะไม่มีแนวทางปกป้องคุ้มครองการปลดปล่อยพืช สัตว์ จีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนกับพืชท้องถิ่นได้ นำไปสู่ปัญหาใหญ่ต่อระบบชีวภาพ และไม่มีการระบุความผิดหรือความรับผิดชอบ หากเกิดผลกระทบขึ้น

ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เห็นว่า ควรมีกฎหมายที่ควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และยืนยันว่าจีเอ็มโอมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และยังเพิ่มผลผลิตพืชไร่  ลดการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศ

 

อ้างอิงจาก: กรีนนิวส์ทีวี 

คลิกดาวโหลดร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ 

ดูเหตุผลฝ่ายคัดค้านที่ BIOTHAI

ดูเหตุผลของ ผศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ที่สนับสนุนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ที่ เฟซบุ๊กส่วนตัว Jessada Denduangboripant

 
สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

ลดการกีดกันทางการค้า เนื่องจากไทยติดปัญหาการเป็นสินค้าจีเอ็มโอลักลอบ เพราะมีปัญหาด้านกฎหมายจีเอ็มโอ ทั้งที่หลายประเทศเปิดรับซื้อสินค้าจีเอ็มโอแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป หรือ อียู ที่ได้ออกประกาศกฎระเบียบการกำหนดขั้นตอนการยื่นขออนุญาตสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ รวม 49 ชนิดสินค้า เข้ายังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2556

 

ที่มา: http://www.publicpostonline.net/6031

Votes: ชอบ 2 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

การที่ไทยกลายมาเป็นประเทศที่มีการอนุญาตจีเอ็มโอ จะทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตพืชไร่ได้จำนวนมาก และจะช่วยลดการนำเข้าพืชจีเอ็มโอจากต่างประเทศได้อีกด้วย

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

จีเอ็มโอมีความปลอดภัย เนื่องจากในต่างประเทศมีการซื้อขายและบริโภคจีเอ็มโอกันมานานแล้ว และมีการบริโภคกันมากขึ้นทั่วโลก อาทิ ถั่วเหลือง ฝ้าย ซึ่งในสหรัฐฯ กว่า 95% เป็นจีเอ็มโอทั้งหมด จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้จีเอ็มโอเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

การมีกฎหมายเพื่อจัดระเบียบสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ จะทำให้รู้ว่ามีใครบ้างที่ดำเนินการเกี่ยวกับจีเอ็มโอ ซึ่งจะทำให้การควบคุมง่ายขึ้น ไม่มีการหลุดรอดจีเอ็มโอออกมาเหมือนที่ผ่านมา

 
Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

มาตรา 52 ที่บริษัทผู้ผลิตจีเอ็มโอไม่ต้องรับผิดชอบถ้าเกิดความเสียหายโดยอ้างว่าเป็น “เหตุสุดวิสัย” ได้ ในขณะที่ประสบการณ์ในต่างประเทศเมื่อเกิดหลุดลอด (leak)ไม่ว่าด้วยเหตุผลสุดวิสัยหรือไม่ ผู้เป็นเจ้าของจีเอ็มโอต้องรับผิดชอบ ดังกรณีข้าวจีเอ็มโอลิเบอร์ตี้ลิงค์ เป็นต้น

 

ข้อมูลจาก BIOTHAI

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

มาตรา 26 กฎหมายไม่กำหนดให้มีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับจีเอ็มโอที่นำไปใช้ในสภาพควบคุมหรือในภาคสนาม

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

พืชทุกชนิดมีโอกาสผสมข้ามสายพันธุ์ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติตามธรรมชาติ หากมีการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอกับพืชท้องถิ่นอาจทำให้เกิดการล่มสลายของพันธุกรรมท้องถิ่น โดยหากพืชเกิดการปนเปื้อนจะทำให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือประเทศไทยอาจสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรม

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

การกำหนดคณะกรรมการความปลอดภัย 22 คน เพื่อกำกับดูแลสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งทั้งหมดเป็นตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ ไม่เปิดโอกาสให้มีตัวแทนภาคการเกษตรเข้าไปมีบทบาท ทัั้งที่เป็นส่วนสำคัญ

 

ความเห็นของ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น