เว็บไซต์ประชามติ เป็นพื้นที่สำหรับการมีส่วนร่วมในร่างรัฐธรรมนูญ และประเด็นต่างๆ ผ่านการโหวต และแสดงความคิดเห็น
การโหวตทุกครั้งเป็นการลงคะแนนลับ หากต้องการยกเลิก หรือแก้ไข ให้ปฎิบัติตามคำแนะนำในอีเมล

ข่าว

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านการทำประชามติแล้ว เหลือเพียงรอการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เว็บไซต์ประชามติจึงขอยุติบทบาท การเป็นพื้นที่หนึ่งให้ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารและแสดงความคิดเห็น ด้วยการจัดกิจกรรมในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ลง หลังจากนี้ยังมีกฎหมายลูกอีกหลายฉบับและการจัดตั้งกลไกต่างๆ อีกหลายประการที่จะเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ทางเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติยังขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนร่วมกันติดตามและแสดงความคิดเห็นเพื่อใช้สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในฐานะประชาชนต่อไป  
พอคำถามพ่วงผ่าน ปัญหาที่ตามมาคือ การตีความคำถามพ่วงโดยสนช. ว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำว่าให้ความเห็นชอบนั้น จะถือว่า ส.ว. มีอำนาจเสนอชื่อนายกฯ ด้วยหรือไม่ หรือควรถูกจำกัดไว้แค่การพิจารณาให้ความเห็นชอบจากบุคคลที่ ส.ส. เป็นคนเลือกมา โดยก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแตกต่างกันไป ซึ่งความชัดเจนในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนยังต้องคอยดู
24 ก.ค. 2559 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงาน "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" ตัวแทนเครือข่ายเพื่อรัฐสวัสดิการ-สมัชชคนจน-ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค-เกษตรกรรมทางเลือก และการศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย
เครือข่ายเกษตรกรรมเชื่อถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ทำปัญหาที่ดินอยู่ในวังวนเดิมๆ ไร้หลักประกันการกระจายและถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ซ้ำนโยบายยังเปิดทางทุน แต่ลดอำนาจเกษตรกร
สิทธิคนพิการถูกตัด จากสิทธิเหลือเพียงผู้ได้รับการสงเคราะห์จากรัฐ การใช้บริการสาธารณะถูกตัด หวั่นร่าง รธน. ผ่าน ภาคประชาสังคมและคนพิการต้องทำงานหนัก
เอฟทีเอวอชท์ระบุ ร่างรัฐธรรมนูญตัดการมีส่วนร่วมประชาชน-รัฐสภา ไม่เปิดเผยข้อมูล ลดการเยียวยาผลกระทบ ไม่ต้องทำกรอบการเจรจา หวั่นรัฐตามไม่ทันเนื้อหาสัญญาที่ก้าวร้าวมากขึ้น เชื่อเป็นกระบวนการที่ล้าหลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา
สิทธิชุมชนถูกย้ายหมวด ถูกลดทอน เหลือเป็นแค่หน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่สิทธิของชุมชน หวั่นรัฐจะทำหรือไม่ทำให้เกิดสิทธิชุมชนก็ได้
อีกสองวันก็จะถึงวันลงประชามติ 7 สิงหาคมแล้ว หลายๆ คน คงมีคำตอบในใจแล้วว่าจะกาช่องไหนในการกำหนดอนาคตของประเทศครั้งนี้ แม้ขั้นตอนการลงประชามติจะดูเหมือน แค่เข้าไปกากบาทในช่องที่ 'ใช่'  แต่เพจประชามติก็ได้รับคำถามจากผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายๆ คนว่า จะกากบาทอย่างไรไม่ให้เป็นบัตรเสีย วันนี้ เพจประชามติ จึงประมวลภาพ บัตรดี-บัตรเสีย เพื่อให้หลายๆ คน เข้าคูหาได้อย่างมั่นใจไม่ต้องกลัวเสียงของตัวเองจะสูญเปล่า    

การลงคะแนนที่ยังเปิดอยู่

นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.หรือไม่เป็นประเด็นถกเถียงสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สำหรับผู้ที่เห็นด้วยว่านายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เห็นว่าวิกฤตการเมืองรอบหลายปีที่ผ่านมานายกฯ ที่มาจาก ส.ส.ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตของประเทศได้การเปิดช่องให้มีนายกฯ คนกลางอาจช่วยป้องกันการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญได้ ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มองว่าอาจเป็นช่องทางการแทรกแซงการเมืองของทหารโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งประเทศไทยก็ผ่านบทเรียนที่เลวร้ายจากเรื่องนี้ในเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ปี 2535 

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3316 คน
เห็นด้วย 408ไม่เห็นด้วย 2908

ภายหลังการยึดอำนาจ คณะรัฐประหารจะเขียนบทบัญญัติเพื่อยกเว้นความผิดของการรัฐประหารและรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารด้วย การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ก็เช่นกัน โดยมีการบัญญัติไว้ในมาตรา 285 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่เพิ่งเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม ผู้คัดค้านเห็นว่า การนิรโทษกรรมคณะรัฐประหารเป็นเรื่องผิดหลักการประชาธิปไตย และจะเป็นตัวอย่างให้มีผู้ทำรัฐประหารอีกในอนาคต ขณะที่ผู้สนับสนุนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะต้องป้องกันการถูกฟ้องร้องในภายหลัง

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 801 คน
เห็นด้วย 147ไม่เห็นด้วย 654

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่ถกเถียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการป้องการเผด็จการรัฐสภาที่มักจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ส่วนฝ่ายคัดค้านเห็นว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1355 คน
เห็นด้วย 226ไม่เห็นด้วย 1129

รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่กำหนดให้วุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง ข้อดีของการที่ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง คือให้อำนาจประชาชนในการตัดสินเลือกผู้แทนของตนเองในแต่ละพื้นที่ ไม่ผูกขาดอำนาจการเลือกไว้ให้กับคนไม่กี่กลุ่ม สำหรับที่มาของ ส.ว.ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จะมาจากคัดเลือกของกลุ่มต่างๆ เช่น ข้าราชการระดับสูง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้ได้ผู้แทนที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพ และอาจจะช่วยลดข้อครหาเรื่องสภาผัวเมีย    

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2993 คน
เห็นด้วย 475ไม่เห็นด้วย 2518

ผลโหวต ประชามติ

24 พ.ย. 58 ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ.จีเอ็มโอ สาระสำคัญคือ ร่าง พ.ร.บ.นี้ จะใช้ดูแลสิ่งมีชีวิตที่มีการตัดต่อ ตัดแต่ง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม ที่ได้จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ร่างพ.ร.บ.นี้ถูกคัดค้านจากภาคประชาสังคม เพราะไม่มีแนวทางปกป้องคุ้มครองการปลดปล่อยพืช สัตว์ จีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และไม่มีการระบุความผิดหากเกิดผลกระทบขึ้น ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า ควรมีกฎหมายที่ควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และจีเอ็มโอมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังเพิ่มผลผลิตพืชไร่  ลดการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศ

ผลการลงคะแนน: เห็นด้วย:95 ไม่เห็นด้วย:220

จากกระแสข่าวในโซเชียลมีเดียว่าจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ยุบ OKMD หรือสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึ่งประกอบด้วย TK PARK หรือสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TCDC หรือศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และ Museum Siam หรือพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เนื่องจากหน่วยงานทั้งสามไม่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายที่เห็นว่าควรยุบ มองว่าหน่วยงานดังกล่าวใช้งบประมาณจำนวนมาก ไม่คุ้มค่ากับผลลัพธ์ ส่วนฝ่ายที่คัดค้านเห็นว่า TK PARK และมิวเซียมสยามได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อเทียบกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ และใช้งบน้อยแต่ได้สาระเยอะ รวมถึงเป็นโครงสร้างทางปัญญาให้กับเด็กและเยาวชน

ผลการลงคะแนน: เห็นด้วย:52 ไม่เห็นด้วย:276

พลันที่มีการเสียชีวิตของผู้ขังถึงสองรายในเรือนจำพิเศษชั่วคราวซึ่งตั้งอยู่ในค่ายทหาร (มทบ.11) ก็เกิดข้อสงสัยจำนวนมากโดยเฉพาะความเหมาะสมของสถานที่ที่ใช้ในการควบคุมตัวผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ที่ดูแล ฝ่ายที่เห็นด้วยถึงการมีอยู่ของเรือนจำพิเศษประเภทนี้ให้เหตุผลเ่น การให้ทหารดูแลจะช่วยให้ผู้ต้องขังความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตมากกว่า ขณะที่ฝ่ายคัดค้านให้เหตุผลว่าเรือนจำดังกล่าวจะขาดการตรวจสอบโดยบุคคลภายนอก และอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ คุณเห็นด้วยหรือไม่ ใช้ค่ายทหารเป็นเรือนจำชั่วคราว?  

ผลการลงคะแนน: เห็นด้วย:78 ไม่เห็นด้วย:483

"ทหาร" มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมไทย แต่ทว่าประเด็นการปฏิรูปกองทัพกลับไม่เคยเด่นชัดสักครั้งในประวัติศาสตร์ แม้ขณะปัจจุบันที่มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง สถานของกองทัพเองก็ไม่ได้เป็นที่พูดถึง ฝ่ายที่เห็นด้วยให้ปฏิรูปกองทัพให้เห็นผลว่า ปัจจุบันทหารไม่มียึดโยงกับประชาชน มีงบประมาณมากเกินความจำเป็น และบ้างภารกิจไปซับท้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ฝ่ายที่คัดค้านเห็นว่า การคงสถานะเช่นของกองทัพจะช่วยผ่าทางตันทางการเมืองเมื่อรัฐบาลพลเรือนทำบ้านเมืองเสียหาย ทหารจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน 

ผลการลงคะแนน: เห็นด้วย:625 ไม่เห็นด้วย:56

เมื่อปลายปีที่แล้วมีข่าวว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้วางแนวทางปฏิรูปโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ให้เทศบาลเมืองกับเทศบาลนครของจังหวัด ยุบรวมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แล้วตั้งเป็น “เทศบาลจังหวัด” สมาชิกจะมาจากการเลือกตั้ง 50% และแต่งตั้ง 50% ส่วน อบจ.เดิมที่ไม่ใช่ส่วนการเมืองก็จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายข้าราชการท้องถิ่น ที่มีหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับเทศบาล และเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด” ขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะถูกยกเลิกทั้งหมด และเปลี่ยนรูปแบบเป็น “เทศบาลตำบล”

ผลการลงคะแนน: เห็นด้วย:677 ไม่เห็นด้วย:222

ปัจจุบันการข้ามถนนในประเทศไทยจะใช้สะพานลอยเป็นหลักเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุ แต่คนจำนวนไม่น้อยก็เลือกที่จะเดินข้ามถนนที่ไม่มีทางม้าลายมากกว่าสะพานลอย แม้ว่าจะต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุก็ตาม เหตุผลข้อหนึ่งคือสะพานลอยเป็นอุปสรรคในการข้าม โดยเฉพาะกับคนพิการหรือคนแก่ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการขึ้นบันได ดังนั้นมีทางม้าลายจึงน่าจะดีกว่า คุณเห็นด้วยหรือไม่ให้ยกเลิกสะพานลอย?

ผลการลงคะแนน: เห็นด้วย:144 ไม่เห็นด้วย:280